รวม 5 อันดับ สนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อีก 1 สิ่งที่ทำให้แฟนบอลมีความสุขในการเชียร์ทีมโปรดของตัวเอง คือการได้นั่งเชียร์ทีมฟุตบอลที่ขอบสนามจริงๆ แล้วรู้หรือไม่ว่าสนามฟุตบอลแต่ละที่ล้วนมีความพิเศษและยิ่งใหญ่สมกับการแข่งระดับต่างๆ ด้วยเหมือนกัน วันนี้เด็กเก็บบอลจะพามาดูกันว่าสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีที่ไหนบ้าง

สนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลกทั้ง 5 แห่ง มีที่ไหนบ้าง

1. Narendra Modi Stadium: คุชราฏ, อินเดีย (ความจุ 132,000 ที่นั่ง)

สนามกีฬานเรนทรา โมดี เปิดใช้งานในปี 2006 และเป็นสถานที่สำหรับจัดการแข่งขันระดับนานาชาติในปี 2015 ก่อนจะรื้อและสร้างใหม่จนเสร็จสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 จากเดิมที่จุได้เพียง 49,000 ที่นั่ง ปัจจุบันนี้สามารถจุได้มากถึง 132,000 ที่นั่ง สนามแห่งนี้กลายเป็นสถานที่สำคัญในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1996 ระหว่างอังกฤษและนิวซีแลนด์, ICC Champions Trophy ปี 2006 รวมถึงฟุตบอลโลกปี 2011 รอบก่อนรองชนะเลิศระหว่างออสเตรเลียและอินเดีย

2. Rungrado May Day Stadium: เปียงยาง, เกาหลีเหนือ (ความจุ 114,000 ที่นั่ง)

สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อ สนามเมย์เดย์ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเปียง ประเทศเกาหลีเหนือ สร้างเสร็จและเปิดใช้งานในวันที่ 1 พฤษภาคม ปี 1989 ซึ่งตรงกับวันแรงงานสากล จุดประสงค์หลักในการสร้างเพื่อจัดการแข่งขันกีฬา, การแสดงเทศกาลอารีรัง รวมถึงรำลึกถึงคิม อิล-ซ็อง ผู้นำสูงสุดคนแรกของเกาหลีเหนือ สนามแห่งนี้เคยถูกใช้จัดงานใหญ่ๆ เช่น ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือ, สโมสรกีฬาเอพริล 25 และฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2018

3. Michigan Stadium: มิชิแกน, สหรัฐอเมริกา (ความจุ 107,601 ที่นั่ง)

สนามกีฬามิชิแกนเป็นสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยมิชิแกนในแอนอาร์เบอร์ รัฐมิชิแกน สร้างขึ้นในปี 1927 และเปิดใช้งานเมื่อ วันที่ 7 กันยายน ปี 2013 เป็นการจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับวิทยาลัยระหว่างมิชิแกนและนอเทรอดามไฟท์ติ้งไอริช นอกจากนี้ยังจัดการแข่งฮ็อกกี้ NHL Winter Classic และการแข่งขันฟุตบอลอินเตอร์เนชั่นแนลแชมเปี้ยนคัพ 2014 ระหว่างเรอัลมาดริดและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอีกด้วย

4. Beaver Stadium: เพนซิลเวเนีย, สหรัฐอเมริกา (ความจุ 106,572 ที่นั่ง)

สนามกีฬาบีเวอร์ เป็นสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนซิลวาเนีย สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1909 ถูกจัดเป็นหนึ่งในสนามที่ยากที่สุดสำหรับทีมคู่แข่งในการแข่งขันกรีฑาระดับวิทยาลัย ปี 2008 อีกทั้งเป็นเจ้าภาพ NCCA หรือการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัยของอเมริกามากถึง 8 สมัย แต่เดิมตัวสนามสามารถจุที่นั่งได้เพียง 46,284 ที่นั่งเท่านั้น แต่ในปัจจุบันสามารถจุได้ถึง 106,572 ที่นั่งแล้ว และในปี 2016 บีเวอร์สเตเดียมถูกโหวตให้เป็นสนามฟุตบอลอันดับ 1 ในวงการฟุตบอลระดับวิทยาลัย จากสำรวจความคิดเห็นของหนังสือพิมพ์ USA Today โดยได้รับคะแนนเสียงมากกว่า 41%

5. AT&T Stadium: อาร์ลิงตัน, สหรัฐอเมริกา (ความจุ 105,000 ที่นั่ง)

เป็นสนามกีฬาหลังคาแบบพับเก็บจากเมืองอาร์ลิงตัน รัฐเท็กซัส ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ปี 2009 สามารถใช้จัดอีเวนท์ต่างๆ ได้ทั้งคอนเสิร์ต, บาสเกตบอล, ฟุตบอลระดับวิทยาลัยและมัธยมปลาย, การแข่งขันสปาร์ตันและมวยปล้ำอาชีพ ซึ่งสนามแห่งนี้ถูกใช้งานแทนสนามกีฬาเท็กซัสในบางโอกาสอีกด้วย โดยสนาม AT&T แห่งนี้ถูกใช้จัดงานสำคัญ เช่น การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันชิงแชมป์ College Football Playoff เป็นครั้งแรก โดยแมตช์นี้รัฐโอไฮโอเอาชนะโอเรกอนไป 42–20 คะแนน และเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2009 ในนัดสุดท้ายระหว่างสโมสรฟุตบอลเชลซี และสโมสรฟุตบอลคลับ อเมริกา ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมทั้ง 57,229 คน ในเรื่องของการจัดการปัญหาพายุฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรงได้ดี แม้ว่าจะจัดงานครั้งแรกก็ตาม

บทความที่น่าสนใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *