รู้หรือไม่? ประวัติฟุตบอลโลกมีความเป็นมาอย่างไร
เพื่อน ๆ พอจะรู้มั้ยครับว่ากว่าจะเป็นฟุตบอลโลกมาจนถึงทุกวันนี้ต้องเจออะไรมาบ้าง แล้วอะไรที่ทำให้การแข่งขันฟุตบอลโลกยังคงเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าแฟนบอลทั่วโลก วันนี้เด็กเก็บบอลจะพามาทำความรู้จักกับประวัติฟุตบอลให้มากกว่าที่เคย เพื่อเพิ่มอรรถรสในการดูบอลของคุณให้สนุกยิ่งขึ้น
ฟุตบอลโลกมีที่มาอย่างไร
ก่อนหน้าที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลกนั้น มีการจัดการแข่งขันระหว่างประเทศขึ้นมาระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ณ เมืองกลาสโกว์ ในปี 1872 และในเวลาต่อมาได้มีการบรรจุฟุตบอลเพิ่มเข้าไปในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1900 และ 1904 ในช่วงเดียวกันนี้ได้มีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์ในการผลักดันให้จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงชนะเลิศระหว่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศที่เข้าแข่งในกีฬาโอลิมปิกเพียงอย่างเดียว จากความพยายามของฟีฟ่าทำให้เกิดการแข่งฟุตบอลในปี 1909 เป็นการแข่งขันระหว่างสโมสรจากหลากหลายประเทศ โดยเป็นทีมมืออาชีพจากประเทศเยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์, อิตาลี และสโมสรเวสต์อ็อกแลนด์ทาวน์ ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศอังกฤษที่เข้าร่วมการแข่งขันแทนสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปี 1914 ฟีฟ่าได้เข้ามาบริหารจัดการแข่งฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกและเกิดการแข่งฟุตบอลระหว่างทวีปเป็นครั้งแรก มีทีมอียิปต์กับทีมยุโรป 13 ทีม เข้าร่วมการแข่งขัน โดยทีมเบลเยียมเป็นผู้คว้าชัยในการแข่งครั้งนี้
หลังจากนั้น ฌูล รีเม ประธานสโมสรฟีฟ่าขณะนั้นได้ผลักดันให้มีการแข่งขันฟุตบอลด้วยตนเองในปี 1930 โดยมีประเทศอุรุกวัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน เนื่องจากชนะในการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกในปี 1924 และ 1928 แต่ด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับการเดินทางจึงทำให้มีทีมร่วมเข้าแข่งขันเพียง 13 ทีมเท่านั้น แบ่งเป็นทีมจากยุโรป 4 ทีม, อเมริกาเหนือ 2 ทีม และทวีปอเมริกาใต้ 7 ทีม โดยมี ลุกแซง โลร็องต์ นักเตะจากทีมชาติฝรั่งเศสเป็นผู้ทำประตูแรกในฟุตบอลโลก จาก 2 นัดแรกของการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 1 มีผู้ชนะคือทีมสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ฟีฟ่าต้องยกเลิกการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 1942 และ 1946 ก่อนจะกลับมาจัดอีกครั้งในปี 1950 ที่ประเทศบราซิล และผู้ชนะในการแข่งครั้งนี้ยังคงเป็นทีมอุรุกวัยอีกเช่นเคย
รูปแบบการแข่งขันฟุตบอลโลกมีอะไรบ้าง
สมัยก่อนมีทีมที่แข่งฟุตบอลโลกเพียง 13-16 ทีม แต่หลังจากนั้นมาเริ่มมีทีมเข้าแข่งมากขึ้นโดยปี 1982 มีทีมเข้าแข่งถึง 24 ทีม และเพิ่มมาเป็น 32 ทีมตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา มีทีมจากเอเชีย อเมริกา และแอฟริกา เข้ารอบลึกมาถึงรอบก่อนรองชนะเลิศมากขึ้น เช่น ทีมแคเมอรูน ทีมกานา ทีมเกาหลีใต้ และทีมเซเนกัล ตั้งแต่การแข่งฟุตบอลโลก 2002 เป็นต้นมา มีทีมเข้าร่วมคัดเลือกมากถึง 198-204 ทีม แบ่งเป็นทีมเอเชีย 4.5 ทีม, ยุโรป 13 ทีม, แอฟริกา 5 ทีม, อเมริกาเหนือ 3.5 ทีม, อเมริกาใต้ 4.5 ทีม, โอเชียเนีย 0.5 ทีม และประเทศเจ้าภาพ 1 ทีม
รอบคัดเลือก
ทางสมาพันธ์จะเป็นผู้กำหนดการแข่งขันคัดเลือกเพื่อลดจำนวนทีมในรอบสุดท้ายให้น้อยลง ซึ่งการแข่งคัดเลือกนี้จะเริ่มในช่วง 2-3 ปีก่อนการแข่งรอบสุดท้ายและสิ้นสุดก่อนการแข่งขัน 2 ปี โดยประเทศเจ้าภาพจะเข้าสู่รอบสุดท้ายทันที ส่วนอีก 31 ทีมที่เหลือจะต้องผ่านการคัดเลือกจากสมาชิกของฟีฟ่าทั้ง 210 ชาติ แต่ละโซนจะได้รับโควตาทีมสำหรับเล่นรอบสุดท้ายแตกต่างกัน โดยฟุตบอลโลก 2022 มีโควตาดังนี้
- โซนเอเชียและออสเตรเลีย 4 หรือ 5 ทีม จาก 46 ชาติสมาชิก
- โซนอเมริกาเหนือ 3 หรือ 4 ทีม จาก 35 ชาติสมาชิก
- โซนอเมริกาใต้ 4 หรือ 5 ทีม จาก 10 ชาติสมาชิก
- โซนยุโรป 13 ทีม จาก 55 ชาติสมาชิก
- โซนแอฟริกา 5 ทีม จาก 54 ชาติสมาชิก
- โซนโอเชียเนีย 0 หรือ 1 ทีม จาก 11 ชาติสมาชิก
รอบสุดท้าย
ปัจจุบันมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 32 ชาติ ภายในระยะเวลา 1 เดือน ในประเทศที่เป็นเจ้าภาพ การแข่งขันแบ่งเป็น 2 รอบ ได้แก่ และรอบแพ้คัดออก
รอบแรก (แบ่งกลุ่ม)
แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 4 ทีม โดยมี 8 ทีม (รวมถึงประเทศเจ้าภาพด้วย) ที่จะถูกเลือกออกมาจากอันดับโลกของฟีฟ่า และผลการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ผ่านมา ทั้ง 8 ทีม จะถูกแยกออกไปในแต่ละกลุ่ม ส่วนทีมที่เหลือจะถูกใส่ลงโถ ส่วนมากจะแบ่งจากเขตทางภูมิศาสตร์ โดยแต่ละทีมในโถจะจับสลากกลุ่มที่อยู่
- นับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา มีข้อบังคับว่าแต่ละกลุ่มจะไม่มีทีมจากยุโรปมากกว่า 2 ทีม และทีมจากสมาพันธ์ฟุตบอลของแต่ละทวีปอื่น ๆ มากกว่า 1 ทีม
- แต่ละทีมในกลุ่มจะแข่ง 3 นัดกับทีมอื่นในกลุ่มจนครบ ส่วนนัดสุดท้ายจะแข่งเวลาเดียวกันเพื่อความยุติธรรม ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 2 อันดับแรกในกลุ่มจะเข้าสู่รอบแพ้คัดออก โดยคะแนนที่ได้มาจากการทำคะแนนรอบแบ่งกลุ่ม
- ปี 1994 กำหนดให้ทีมผู้ชนะได้ 3 คะแนน ทีมที่เสมอได้ 1 คะแนน และทีมที่แพ้ ไม่ได้คะแนน
อันดับของทีมจะพิจารณาจากจำนวนคะแนนในกลุ่ม, จำนวนความแตกต่างในการทำประตูในกลุ่ม และจำนวนการทำประตูในกลุ่ม หากอยู่ในระดับเท่ากัน จะพิจารณาจาก
- จำนวนคะแนนในนัดที่ทีมเจอกัน
- จำนวนความแตกต่างในนัดที่ทีมเจอกัน
- จำนวนประตูในนัดที่ทีมเจอกัน
แต่หากพิจารณาจากเกณฑ์ด้านบนแล้วพบว่าทีมอยู่ในระดับเท่ากันอีก จะใช้อันดับโลกฟีฟ่าในการพิจารณาแทน
ส่วนรอบแพ้คัดออก ฟีฟ่าจะกำหนดให้แต่ละรอบแข่งกันเพียงครั้งเดียว โดยจะต่อเวลาพิเศษและยิงลูกโทษหากทำประตูไม่ได้เลย โดยเริ่มที่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ผู้ชนะจะเข้าแข่งต่อในรอบ 8 ทีมสุดท้ายไปสู่รอบรองชนะเลิศ, นัดชิงอันดับที่สาม และนัดชิงชนะเลิศ
ฟีฟ่าใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกประเทศเจ้าภาพ
เนื่องจากความลำบากในการเดินทางไปยังทวีปยุโรปและอเมริกาใต้ และอาจนำมาซึ่งการคว่ำบาตรฟุตบอลโลก เหมือนในปี 1938 ทำให้ฟีฟ่ากำหนดรูปแบบการเลือกประเทศเจ้าภาพชัดเจน โดยให้ประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพสลับกัน 2 ทวีป ระหว่างยุโรปและอเมริกา จนถึงฟุตบอลโลก 2002 ได้ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพร่วมกัน, ฟุตบอลโลก 2010 ได้แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ ส่วนฟุตบอลโลก 2014 ได้บราซิลเป็นเจ้าภาพ ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกมาจากการลงคะแนนโดยคณะผู้บริหารระดับสูงของฟีฟ่า สมาคมฟุตบอลแห่งชาติของแต่ละประเทศที่ต้องการเป็นเจ้าภาพ จะได้รับหนังสือข้อตกลงการเป็นประเทศเจ้าภาพจากฟีฟ่า ทางสมาคมก็ได้รับแบบฟอร์มเกี่ยวกับการยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการเป็นผู้เสนอตัวเป็นประเทศเจ้าภาพ จากนั้นฟีฟ่าจะแต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบเดินทางไปประเทศที่เสนอตัว เพื่อตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ที่ควรใช้ในการแข่งขัน ซึ่งทางฟีฟ่าจะใช้เวลาตัดสินใจล่วงหน้า 6-7 ปีก่อนปีที่จัด อย่างไรก็ตาม บางครั้งมีการประกาศประเทศเจ้าภาพหลายเจ้าภาพในเวลาเดียวกัน อย่างเช่นฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ที่ผ่านมา
ถ้วยรางวัลฟีฟ่าเวิลด์คัพ เครื่องหมายอันงดงามของผู้คว้าชัย
ส่วนถ้วยรางวัลที่มอบให้แก่ผู้ชนะนั้นเดิมทีเรียกว่า เวิลด์คัพ (World Cup) หรือคูปดูมอนด์ (Coupe du Monde) โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1974 ซึ่งเจ้าภาพอย่างเยอรมันเป็นผู้คว้าถ้วยใบนี้ไป จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อตามประธานสโมสรเป็น ฌูล รีเม ในปี 1946 หลังจากนั้นในปี 1970 ได้มีการเปลี่ยนถ้วยรางวัลใหม่เป็นถ้วยรางวัลฟีฟ่าเวิลด์คัพ จากผลงานการออกแบบของ ซิลวิโอ กาซซานิก้า (Silvio Gazzaniga) นักออกแบบชาวอิตาลี ตัวถ้วยมีความสูง 36 ซม. น้ำหนัก 6.175 กก. ทำจากทองคำ 18 กะรัต ฐานของถ้วยมีเส้น 2 ชั้น ทำจากมรกต ส่วนใต้ฐานของถ้วยรางวัลจะสลักปีและชื่อของทีมผู้ชนะตั้งแต่ปี 1974 ผู้ชนะจะได้ถ้วยจำลองจากทองผสม ส่วนถ้วยจริงจะต้องเก็บถ้วยไว้เพื่อส่งต่อให้การแข่งครั้งต่อไป
โดยทั่วไปสมาชิกทุกคนในทีมรวมถึงโค้ช ของทีม 3 อันดับแรกจะได้รับเหรียญรูปถ้วยฟุตบอลโลก ผู้ชนะจะได้เหรียญทอง ส่วนรองชนะเลิศได้เหรียญเงิน และอันดับ 3 จะได้เหรียญทองแดง แต่ในปี 2002 มีการมอบเหรียญที่ 4 ให้ประเทศเจ้าภาพคือเกาหลีใต้ ก่อนหน้าการแข่งขันในปี 1978 มีการมอบเหรียญให้แก่ผู้เล่นเพียง 11 คน ในนัดสุดท้ายของการแข่งขัน รวมถึงนัดการแข่งขันชิงที่ 3 ในปี 2007 ฟีฟ่าประกาศว่าสมาชิกทุกคนของทีมผู้ชนะในการแข่งฟุตบอลโลกในช่วงปี 1930 และ 1974 จะได้รับเหรียญตราย้อนหลังด้วย
สถิติการแข่งขันฟุตบอลโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. ฟุตบอลโลก 1930
- เจ้าภาพ อุรุกวัย (4-2)
- ผู้ชนะ อุรุกวัย
- รองชนะเลิศ อาร์เจนตินา
2. ฟุตบอลโลก 1934
- เจ้าภาพ อิตาลี (2-1 ต่อเวลา)
- ผู้ชนะ อิตาลี
- รองชนะเลิศ เชโกสโลวาเกีย
3. ฟุตบอลโลก 1938
- เจ้าภาพ ฝรั่งเศส (4-2)
- ผู้ชนะ อิตาลี
- รองชนะเลิศ ฮังการี
4. ฟุตบอลโลก 1950
- เจ้าภาพ บราซิล (2-1)
- ผู้ชนะ อุรุกวัย
- รองชนะเลิศ บราซิล
5. ฟุตบอลโลก 1954
- เจ้าภาพ สวิตเซอร์แลนด์ (3-2)
- ผู้ชนะ เยอรมนี
- รองชนะเลิศ ฮังการี
6. ฟุตบอลโลก 1958
- เจ้าภาพ สวีเดน (5-2)
- ผู้ชนะ บราซิล
- รองชนะเลิศ สวีเดน
7. ฟุตบอลโลก 1962
- เจ้าภาพ ชิลี (3-1)
- ผู้ชนะ บราซิล
- รองชนะเลิศ สวีเดน
8. ฟุตบอลโลก 1966
- เจ้าภาพ อังกฤษ (4-2 ต่อเวลา)
- ผู้ชนะ อังกฤษ
- รองชนะเลิศ เยอรมนี
9. ฟุตบอลโลก 1970
- เจ้าภาพ เม็กซิโก (4-1)
- ผู้ชนะ บราซิล
- รองชนะเลิศ อิตาลี
10. ฟุตบอลโลก 1974
- เจ้าภาพ เยอรมนี (2-1)
- ผู้ชนะ เยอรมนี
- รองชนะเลิศ เนเธอร์แลนด์
11. ฟุตบอลโลก 1978
- เจ้าภาพ อาร์เจนตินา (3-1 ต่อเวลา)
- ผู้ชนะ อาร์เจนตินา
- รองชนะเลิศ เนเธอร์แลนด์
12. ฟุตบอลโลก 1982
- เจ้าภาพ สเปน (3-1)
- ผู้ชนะ อิตาลี
- รองชนะเลิศ เยอรมนี
13. ฟุตบอลโลก 1986
- เจ้าภาพ เม็กซิโก (3-2)
- ผู้ชนะ อาร์เจนตินา
- รองชนะเลิศ เยอรมนี
14. ฟุตบอลโลก 1990
- เจ้าภาพ อิตาลี (1-0)
- ผู้ชนะ เยอรมนี
- รองชนะเลิศ อาร์เจนตินา
15. ฟุตบอลโลก 1994
- เจ้าภาพ สหรัฐอเมริกา (3-2 ดวลลูกโทษ)
- ผู้ชนะ บราซิล
- รองชนะเลิศ อิตาลี
16. ฟุตบอลโลก 1998
- เจ้าภาพ ฝรั่งเศส (3-0)
- ผู้ชนะ ฝรั่งเศส
- รองชนะเลิศ บราซิล
17. ฟุตบอลโลก 2002
- เจ้าภาพ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (2-0)
- ผู้ชนะ บราซิล
- รองชนะเลิศ เยอรมนี
18. ฟุตบอลโลก 2006
- เจ้าภาพ เยอรมนี (5-3 ดวลลูกโทษ)
- ผู้ชนะ อิตาลี
- รองชนะเลิศ ฝรั่งเศส
19. ฟุตบอลโลก 2010
- เจ้าภาพ แอฟริกาใต้ (1-0 ต่อเวลา)
- ผู้ชนะ สเปน
- รองชนะเลิศ เนเธอร์แลนด์
20. ฟุตบอลโลก 2014
- เจ้าภาพ บราซิล (1-0 ต่อเวลา)
- ผู้ชนะ เยอรมนี
- รองชนะเลิศ อาร์เจตินา
21. ฟุตบอลโลก 2018
- เจ้าภาพ รัสเซีย (4-2)
- ผู้ชนะ ฝรั่งเศส
- รองชนะเลิศ โครเอเชีย
22. ฟุตบอลโลก 2022
- เจ้าภาพ กาตาร์
- ผู้ชนะ –
- รองชนะเลิศ –
23. ฟุตบอลโลก 2026
- เจ้าภาพ แคนาดา, เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา
- ผู้ชนะ –
- รองชนะเลิศ –