ทำไมต้องมีตลาดซื้อขายนักเตะ
หากพูดถึงอีกหนึ่งสิ่งที่สร้างสีสันในวงการฟุตบอลอยู่ไม่น้อย และมีผลต่อการเล่นของแต่ละสโมสร จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากตลาดซื้อขายนักเตะ วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับตลาดนักเตะว่ามีที่มาจากอะไร ไปหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ
ตลาดซื้อขายนักเตะคืออะไร
ตลาดซื้อขายนักเตะ หรือ Transfer window เกิดจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษต้องการให้การแข่งขันฟุตบอลมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น และต้องการควบคุมระบบลงทะเบียนนักเตะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้นักเตะต้องทำเรื่องลงทะเบียนกับสโมสรทีมใดทีมหนึ่งตลอดฤดูกาล หากไม่ได้ลงทะเบียนไว้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงแข่ง ทั้งนี้การลงทะเบียนกับสโมสรนั้นจะมีผลเพียง 1 ฤดูกาลเท่านั้น และจะกลับมาเริ่มใหม่เมื่อจบฤดูกาล นักเตะจึงย้ายไปอยู่กับทีมอื่น ส่งผลให้สโมสรที่ต้องการเก็บนักเตะคนนี้ไว้จะต้องจ่ายในราคาที่สูงขึ้น แต่ตัวนักเตะเองก็สามารถปฏิเสธข้อเสนอสโมสรได้ด้วยเช่นกัน ขึ้นอยู่กับสโมสรไหนมีเงินจ่ายค่าเหนื่อยมากกว่ากัน
จนกระทั่งมีระบบ Retain transfer ที่ช่วยไม่ให้ทีมใดทีมหนึ่งผูกขาดกับนักเตะคนนั้นมากเกินไป ซึ่งขัดกับความต้องการของนักเตะหลาย ๆ คน จนเกิดความวุ่นวายครั้งใหญ่จากนักเตะดาวรุ่งในยุคนั้นอย่าง จอร์จ อีสต์แฮม จากทีมนิวคาสเซิล ที่ถูกสโมสรพยายามบีบให้ต่อสัญญาในช่วงใกล้หมดสัญญาพอดี อีสต์แฮมจึงปฏิเสธและเสนอขึ้นบัญชีขายทันที ฝั่งนิวคาลเซิลเองก็ไม่ยอมปล่อยให้อีสต์แฮมย้ายทีมและไม่ยอมคืนค่าลิขสิทธิ์การลงทะเบียน จอร์จจึงตัดสินใจไม่ลงเล่นให้นิวคาสเซิลตลอดทั้งฤดูกาล 1960-1961 ในที่สุดนิวคาลเซิลก็ยอมขายเขาให้อาร์เซนอลในราคา 47,500 ปอนด์ เขาจึงยื่นฟ้องดำเนินคดีกับนิวคาสเซิล เพราะไม่พอใจในราคาที่ตกต่ำขนาดนี้ และในที่สุดศาลก็ตัดสินว่าระบบดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับเขา และเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้นเป็นต้นมา
เปลี่ยนจาก Retain transfer เป็นบอสแมน
จนกระทั่งในปีหลังจากนั้นมาจนถึงปี 1990 ฌอง มาร์ค บอสแมน ประสบปัญหาเช่นเดียวกันกับจอร์จ และถูกแบนจาก recast ด้วยการลดค่าเหนื่อยลงเหลือ 25% เหลือเพียง 500 ปอนด์ต่อเดือน บอสแมนจึงได้ยื่นฟ้องคดีกับสมาคมฟุตบอลเบลเยียมและยูฟ่า หลังจากต่อสู้มาอย่างยาวนาน ทำให้ชีวิตของเขาอยู่ในสถานะบุคคลล้มละลาย จนในที่สุดศาลยุติธรรมแห่งยุโรปได้พิพากษาให้บอสแมนเป็นผู้ชนะคดี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1995 หลังจากนั้นมาได้มีการเปลี่ยนสัญญาใหม่โดยมีชื่อว่า กฎบอสแมน ทำให้นักเตะสามารถย้ายทีมได้ทันทีเมื่อหมดสัญญา และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการการซื้อขายนักเตะของโลก โดยเฉพาะการยกเลิกการใช้นักเตะต่างชาติได้ไม่เกิน 3 คน และผู้เล่นจากอะคาเดมี 2 คน ในเกมยุโรป
อย่างไรก็ดี ตลาดซื้อขายนักเตะเริ่มปั่นป่วน เนื่องจากนักเตะสามารถย้ายทีมได้อย่างอิสระ บวกกับนักเตะและเอเย่นต์มีอำนาจต่อรองกับสโมสรเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแนวคิดที่จะใช้ระบบตลาดนักเตะฤดูร้อน-ฤดูหนาวขึ้น และประกาศใช้กันทั่วยุโรปตั้งแต่ฤดูกาล 2002-2003 โดยใช้ชื่อว่า Transfer window ซึ่งช่วยแก้ปัญหาที่มีเอเย่นต์นักฟุตบอลมากเกินไปและปัญหาเงินเฟ้อจากค่าเหนื่อย, ค่าย้ายทีม และค่าเซ็นสัญญา แม้ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดแต่นักเตะหลายคนไม่ค่อยพอใจกับกฎนี้เท่าไรนัก เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยจำกัดอำนาจการต่อรองของเอเยนต์แล้ว ยังเกิดการเซ็นสัญญาผู้เล่นแพงเกินเหตุอีกด้วย
จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดข้อเรียกร้องให้ตลาดนักเตะจะต้องปิดก่อนปิดฤดูกาลพรีเมียร์ลีก ซึ่งทางพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2018-19 และกัลโช่เซเรียอา ได้ริเริ่มนำหลักการนี้มาใช้ แต่ก็เกิดเสียงวิจารณ์ในแง่ลบตามมา ในที่สุดกัลโช่เซเรียอาก็ได้ยกเลิกหลักดังกล่าวออกและหันกลับมาใช้แบบเดิมในฤดูกาล 2019-20
ช่วงเวลาซื้อขายนักเตะในปัจจุบันแบ่งเป็นกี่แบบ
โดยทั่วไปจะต้องมีตลาดซื้อขาย 2 ช่วง แบ่งเป็นระยะยาว (ไม่เกิน 12 สัปดาห์) ในช่วงพักระหว่างฤดูกาล และระยะสั้น (ไม่เกิน 1 เดือน) ในช่วงกลางฤดูกาล ขึ้นอยู่กับรอบฤดูกาลของลีกที่กำหนดโดยหน่วยงานฟุตบอลของประเทศนั้น ส่วนใหญ่เริ่มฤดูกาลตั้งแต่ครึ่งหลังของปี (สิงหาคม-กันยายน) และแข่งขันไปจนถึงครึ่งปีแรกของปีถัดไป ทำให้ตลาดซื้อขายนักเตะปิดในช่วงเดือนสิงหาคม สำหรับตลาดซื้อขายช่วงฤดูกาลจะเปิดในเดือนมกราคม ตลาดซื้อขายครั้งแรกจึงเปิดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ไปจนถึงช่วงค่ำของวันที่ 30 เมษายน ส่วนตลาดซื้อขายช่วงกลางฤดูกาลจะเปิดตั้งแต่ 1 ถึง 31 สิงหาคม หากทีมสนใจนักเตะคนไหนให้ติดต่อกับทางเอเย่นต์และสโมสรโดยตรง ไม่ควรติดต่อกับตัวนักเตะเองเด็ดขาด เพราะผิดกฎพรีเมียร์ลีก
ขั้นตอนการซื้อขายนักเตะ
หลังจากที่แต่ละทีมเจอนักเตะที่เข้าตาแล้ว ขั้นตอนต่อไปทีมจะติดต่อไปยังเอเย่นต์ของนักเตะคนนั้น เพื่อจะได้รู้ว่านักเตะเหลือสัญญาอีกกี่ปี มีแผนจะย้ายออกมั้ย ค่าตัวอยู่ที่เท่าไหร่ ครอบครัวเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อนักเตะทราบเรื่องและพร้อมเจรจาแล้ว ทางทีมจะต้องติดต่อไปที่ต้นสังกัดของนักเตะและพูดคุยเกี่ยวกับจำนวนเงินที่พร้อมจะจ่าย ทางทีมจึงยื่นข้อเสนอและจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ไปยังต้นสังกัดของนักเตะ หลังจากสองทีมตกลงเรื่องค่าตัวนักเตะได้แล้ว ต้นสังกัดจะให้นักเตะคุยเรื่องสัญญากับทีมที่จะซื้อตัว ในปัจจุบันมีเงื่อนไขต่าง ๆ มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เงื่อนไขเรื่องโบนัส หากนักเตะได้รับรางวัลบัลลงดอร์, ค่าตัวของนักเตะหากทีมตกชั้น, ค่าฉีกสัญญา (ทั้งในประเทศและต่างประเทศ) หรือเงื่อนไขประหลาด อย่างการห้ามออกนอกโลก (ห้ามขึ้นยานอวกาศ) และห้ามน้ำหนักขึ้นเกินที่ตั้งไว้
หลังจากร่างสัญญาเสร็จ ทีมใหม่จะพานักเตะไปตรวจร่างกาย หากพบว่ามีบางเคสที่มีปัญหาจริง ๆ ก็จะไม่สามารถย้ายทีมได้ โดยขั้นตอนการตรวจจะขึ้นอยู่กับแต่ละสโมสรเป็นผู้กำหนดและตำแหน่งของนักเตะคนนั้น โดยทั่วไปจะแบ่งการตรวจออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
- ตรวจหัวใจ
- ตรวจกล้ามเนื้อ
- ตรวจการเคลื่อนไหว
- ตรวจความเร็วในการวิ่ง
- ตรวจไขมัน
- ตรวจละเอียดในโรงพยาบาล
เมื่อตรวจเสร็จแล้วจึงเริ่มดำเนินการด้านเอกสารให้ทันก่อนเวลาซื้อขายนักเตะ หลังจากทุกอย่างเรียบร้อย ทางต้นสังกัดใหม่จะเปิดตัวนักเตะหรืออาจชูเสื้อทีมและแถลงข่าวเป็นอันจบขั้นตอน